การจับปลาแบบอุไก: การจับปลาด้วยนกกาน้ำในแม่น้ำนะงะระ

การจับปลาแบบอุไก: การจับปลาด้วยนกกาน้ำในแม่น้ำนะงะระ

การจับปลาแบบอุไกหรือการจับปลาด้วยนกกาน้ำในแม่น้ำนะงะระที่ใสสะอาด เป็นภาพหนึ่งซึ่งพบเห็นได้บ่อยที่สุดในช่วงฤดูร้อนของเมืองกิฟุ
การจับปลาด้วยนกกาน้ำในแม่น้ำนะงะระกระทำกันทุกคืนในช่วงฤดูดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคมไปจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม ยกเว้นช่วงคืนวันเพ็ญในฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น
การจับปลาแบบอุไกเป็นวิธีการจับปลาในเวลากลางคืนแบบดั้งเดิมที่อุโชะ (นักจับปลาแบบอุไก) และนกอุ (นกกาน้ำ) ร่วมกันจับปลาโดยใช้แสงไฟจากคะงะริบิ (คบไฟจับปลา) ซึ่งสะท้อนบนผิวแม่น้ำที่มืดมิด

การจับปลาด้วยนกกาน้ำมีประวัติความเป็นมาราว 1,300 ปี และได้รับความคุ้มครองจากทั้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่รัฐสืบต่อกันมา กล่าวกันว่ายุคเซงโงะกุ (”ยุคสงครามระหว่างแคว้น”) ขุนพลโอะดะ โนะบุนะงะให้การอุปถัมภ์ชาวประมงแบบอุไกอย่างเป็นทางการ และยังได้แต่งตั้งพวกเขาให้มีตำแหน่งอุโชะ (นักจับปลาแบบอุไก) อย่างเป็นทางการอีกด้วย โชกุนโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ผู้สถาปนารัฐบาลโชกุนขึ้นที่นครหลวงเอะโดะ (ค.ศ.1603-1868) เป็นผู้ที่ชอบชมการจับปลาแบบอุไกเมื่อได้เดินทางไปยังกิฟุ และอีกทั้งยังได้ให้การอุปถัมภ์และการคุ้มครองแก่เหล่าชาวประมง โชกุนผู้นี้ชอบรับประทานอะยุซุชิ (ซุชิที่ปรุงด้วยปลาอะยุ) ของเมืองกิฟุ และได้สั่งให้นำซุชิดังกล่าวมายังเมืองเอะโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน)

ปัญญาชนที่มีชื่อเสียงหลายคนก็ชื่นชอบการจับปลาแบบอุไกด้วยเช่นกัน มะสึโอะ บะโช ซึ่งเป็นกวีไฮกุคนหนึ่งได้เขียนไฮกุที่มีชื่อเสียงเมื่อเขาได้เดินทางไปเยือนกิฟุแล้วชมการจับปลาด้วยนกกาน้ำ “ตื่นตาเมื่อได้ยล / แต่ก็เศร้าในบัดดล / เรือจับปลาด้วยนกกาน้ำ” (Omoshirote yagate kanashiki ubune kana) ชาร์ลี แชปลิน นักแสดงผู้ยิ่งใหญ่ ได้เดินทางไปชมการจับปลาด้วยนกกาน้ำถึงสองครั้งแล้วกล่าวแสดงความชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง

มีอุโชะหรือนักจับปลาด้วยนกกาน้ำทำงานอยู่ในแม่น้ำนะงะระอยู่หกคน โดยพวกเขาได้รับการถ่ายทอดทักษะต่างๆ มาจากบรรพบุรุษภายในตระกูลของตนเอง ตำแหน่งอย่างเป็นทางการของพวกเขาคือ “นักจับปลาแบบอุไกหลวง กรรมการพิธีการและพิธีกรรม สำนักพระราชวัง” พระจักรพรรดิก็ยังเคยเสด็จมาทอดพระเนตรการจับปลาแบบอุไก และมีการจัดส่งอุอะยุไปถวายราชสำนักปีละหลายครั้ง

ชุดอุปกรณ์จับปลาแบบอุไก 122 ชิ้นได้รับการกำหนดให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมพื้นบ้านที่จับต้องได้ของญี่ปุ่น และการจับปลาแบบอุไกในแม่น้ำนะงะระก็ได้รับการกำหนดให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ประการสำคัญของจังหวัดกิฟุ เสียงร้องตะโกน “โฮะโฮะ” ของนักจับปลาแบบอุไกที่ช่วยให้นกกาน้ำตื่นตัว และเสียงตีพื้นเรือถือว่าอยู่ใน 100 ทัศนียภาพทางเสียงที่งดงามที่สุดของญี่ปุ่น

มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การแสดงกลองและดอกไม้ไฟญี่ปุ่น เพื่อเฉลิมฉลองการเข้าสู่ฤดูการจับปลาด้วยนกกาน้ำในวันที่ 11 พฤษภาคมของทุกปี

ข้อมูล

วันที่ 11 พฤษภาคม - 15 ตุลาคม
การจับปลาแบบอุไกไม่กระทำช่วงคืนวันเพ็ญในฤดูเก็บเกี่ยวและ/หรือในเวลาที่ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นมากเกินไป
งดการจับปลาด้วยนกกาน้ำช่วงคืนวันเพ็ญในฤดูเก็บเกี่ยว
เวลาเริ่มต้นการจับปลาแบบอุไก ประมาณ 19:30 น. (อาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับฤดูกาลหรือกิจกรรม)
เวลาออกเรือนำชมการจับปลาแบบอุไก
เรือที่ออกตามกำหนดเวลา
18:15 น.
18:45 น. หรือ 19:15 น.
เรือเช่าเหมาลำ
หลังจากเวลาประมาณ 17:30 น. ตามความประสงค์ของผู้เช่า
ค่าบริการ
เรือที่ออกตามกำหนดเวลา
เวลาออกเรือนำชมการจับปลาแบบอุไก ผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 13 ปี หรือนักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป) เด็ก (อายุ 3-12 ปี)
18:15 น. ทุกวัน 3,400 เยน 1,700 เยน
18:45 น. วันธรรมดา 3,100 เยน 1,700 เยน
19:15 น. วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 3,400 เยน 1,700 เยน
  • เรือที่ออกตามกำหนดเวลางดให้บริการเมื่อมีการแสดงดอกไม้ไฟ (วันเสาร์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคมและวันเสาร์แรกของเดือนสิงหาคม)
  • รวมภาษีการบริโภค
  • 1,000 เยนต่อคน สำหรับการมาทัศนศึกษากับโรงเรียน
เรือเช่าเหมาลำ
ค่าบริการ
นั่งได้ไม่เกิน 50 คน 136,000 เยน
นั่งได้ไม่เกิน 40 คน 108,800 เยน
นั่งได้ไม่เกิน 30 คน 81,600 เยน
นั่งได้ไม่เกิน 20 คน 54,400 เยน
นั่งได้ไม่เกิน 15 คน 40,800 เยน
  • เมื่อมีการแสดงดอกไม้ไฟ จะเก็บค่าบริการเพิ่มเติม 50 เปอร์เซ็นต์ (วันเสาร์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคมและวันเสาร์แรกของเดือนสิงหาคม)
  • รวมภาษีการบริโภค
การเดินทาง
จุดลงเรือนำชมการจับปลาแบบอุไก
ขึ้นรถประจำทางสายหนึ่งต่อไปนี้ที่สถานีเจอาร์กิฟุหรือสถานีเมเตะสึกิฟุ ไปยัง “สะพานนะงะระ” (ใช้เวลา 16 นาที ค่ารถ 210 เยน/เที่ยวเดียว)
  • รถประจำทางกิฟุสาย “N80 ที่วิ่งไปทะกะโตะมิ”
  • รถประจำทางกิฟุสาย “N32” ~ “N86” ที่วิ่งไปทางสวนกิฟุ/ทะกะโตะมิ
  • “สายรอบเมือง” วนซ้าย
ลงรถแล้วเดินต่ออีก 1 นาที
พื้นที่จอดรถ พื้นที่จอดรถที่สวนกิฟุ
ที่อยู่

จุดลงเรือนำชมการจับปลาแบบอุไก

สำนักงานเรือนำชมการจับปลาด้วยนกกาน้ำเมืองกิฟุ
1-2 มินะโตะมะชิ เมืองกิฟุ
ติดต่อและสำรองที่นั่ง
สำนักงานเรือนำชมการจับปลาด้วยนกกาน้ำเมืองกิฟุ
https://www.ukai-gifucity.jp/ukai/e/
+81-58-262-0104

ข้อมูลเพิ่มเติม

กำหนดเวลาโดยทั่วไปสำหรับการชมการจับปลาแบบอุไก

1. เช็คอินที่เคาน์เตอร์ต้อนรับ
โปรดเช็คอินก่อนเวลาออกเรือของคุณที่เคาน์เตอร์ต้อนรับของสำนักงานเรือนำชมการจับปลาด้วยนกกาน้ำ
(หากคุณสำรองที่นั่งที่โรงแรม โปรดเช็คอินที่โรงแรมของคุณ)
สำนักงานเรือนำชมการจับปลาด้วยนกกาน้ำ / จุดลงเรือ
สำนักงานเรือนำชมการจับปลาด้วยนกกาน้ำ / จุดลงเรือ
2. ฟังปฐมนิเทศสั้นๆ โดยนักจับปลาด้วยนกกาน้ำ (เวลาประมาณ 17:45 น.)
ที่จุดลงเรือนำชมการจับปลาด้วยนกกาน้ำ
ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง
(หมายเหตุ) อาจไม่มีการปฐมนิเทศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำหนดเวลาและกิจกรรม)
ฟังปฐมนิเทศสั้นๆ โดยนักจับปลาด้วยนกกาน้ำ
3. ลงเรือเวลา 17:30 น.
โปรดลงเรือตามชื่อเรือที่ระบุไว้บนตั๋วของคุณ
ลงเรือเวลา
4. ออกเรือ
เรือล่องไปยังจุดชมการจับปลาแบบอุไก ซึ่งคุณจะเพลิดเพลินกับทัศนียภาพของแม่น้ำนะงะระและภูเขาคิงกะ
5. จอดเรือที่ริมฝั่งแม่น้ำและรับประทานอาหาร
เรือจอดที่ริมฝั่งแม่น้ำ หากคุณได้จองอาหารหรือนำอาหารมา โปรดรับประทานอาหารก่อนจะถึงเวลาการจับปลาแบบอุไก
หากคุณรับประทานอาหารบนเรือ โปรดรับประทานในขณะที่เรือจอดอยู่
ออกเรือ
6. การจับปลาแบบอุไกเริ่มต้นเวลาประมาณ 19:45 น.
เริ่มต้นการจับปลาแบบอุไกโดยใช้พลุสัญญาณเริ่มต้น
7. "คะริกุดะริ" หรือแบบ "สึเกะมิเซะ"

คุณจะได้ชมการจับปลาด้วยนกกาน้ำในแบบ "คะริกุดะริ" หรือแบบ "สึเกะมิเซะ" ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของแม่น้ำ

(1) คะริกุดะริ
เรือนำชมการจับปลาจะล่องไปตามแม่น้ำเคียงคู่กับเรืออุบุเนะ (เรือนกกาน้ำ)

(2) สึเกะมิเซะ
คุณจะได้ชมเรืออุบุเนะ (เรือนกกาน้ำ) ขณะที่เรือนำชมการจับปลาทอดสมออยู่

การจับปลาแบบอุไกเริ่มต้นเวลาประมาณ
8. โซงะระมิ (การไล่จับช่วงสุดท้าย)
จุดไคลแมกซ์ของการจับปลาแบบอุไกอยู่ที่เรือจับปลาทั้งหกลำไล่จับปลาอะยุไปยังบริเวณที่ตื้นโดยเรียงแถวจากฟากหนึ่งไปยังอีกฟากหนึ่งของแม่น้ำ
9. การจับปลาแบบอุไกสิ้นสุด/ขึ้นจากเรือเวลาประมาณ 20:30 น.
เวลาขึ้นจากเรืออาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับฤดูกาลและจำนวนเรือ
* กำหนดเวลาข้างต้นขึ้นอยู่สภาพอากาศ จำนวนเรือ และประเภท
โซงะระมิ

แผนที่